Technology

10 ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ยอดนิยมปี 2567

February 8, 2024

10 ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ยอดนิยมปี 2567


ทักษะการเขียนโปรแกรมนั้น ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่นักพัฒนาจะต้องมีพื้นฐานความรู้เป็นอย่างดี แต่ด้วยภาษาโปรแกรมที่มีมากกว่า 700 ภาษา เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเรียนรู้ได้ทั้งหมด โดยเราได้คัดเลือกภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้กันภายในปี 2566 มากที่สุดตามอันดับ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถพิจารณาเลือกศึกษาได้ด้วยตัวเองครับ

ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ คืออะไร

ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ คือ ภาษาที่ใช้สำหรับเขียนคำสั่งหรือโค้ด (Code) เพื่อใช้ในการสร้างแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ และบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ โดยแต่ละภาษาก็จะมีข้อดีกับข้อเสียที่แตกต่างกันไป เป็นหน้าที่ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software developer) ที่จะต้องเลือกภาษาที่ใช้พัฒนาซอฟต์แวร์ ให้เหมาะสมกับโปรเจกต์

10 ภาษาที่นิยมใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์

การเลือกภาษาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์นั้น เป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อการทำงาน การใช้งาน และความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นโดยตรง หัวขอนี้เราจะแนะนำภาษาคอมพิวเตอร์ 10 ภาษา ที่นิยมใช้พัฒนาซอฟต์แวร์ในปี 2023 พร้อมบอกถึง ข้อดี/ข้อเสีย แต่ละภาษากันครับ

1. JavaScript

JavaScript ภาษาที่ใช้สำหรับสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ มีลักษณะเป็นภาษาเขียนสคริปต์ สามารถทำงานได้ทั้งฝั่งไคลเอ็นต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ มีจุดเด่นในการเพิ่มความน่าสนใจให้กับเว็บไซต์ รวมถึงช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บให้กับผู้ใช้ ด้วยการประมวลผลบางส่วนที่เบราว์เซอร์ โดยไม่ต้องรอการตอบกลับจากเซิร์ฟเวอร์ และยังมีเฟรมเวิร์กให้เลือกมากมาย ซึ่งพวกเรา Foxbith ได้เลือกใช้ stack นี้เป็นหลักด้วยนั่นเอง

  • เหมาะสำหรับ : ผู้เริ่มเรียนรู้
  • ระดับความยาก : ค่อนข้างง่าย
  • ทักษะที่จำเป็น : พื้นฐานการเขียนโปรแกรม และความคุ้นเคย HTML กับ CSS
  • กรณีการใช้งาน (Use Cases) : Front-end web development, Game development, Web applications

ข้อดี(Pros)

  • Open-source
  • Client-side JavaScript ทำงานได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องรอให้เบราว์เซอร์ Compiler โค้ดของ JavaScript ก่อน
  • สามารถใช้งานร่วมกับภาษาชั้นนำอื่น ๆ ได้
  • ดีมากสำหรับการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้กับเว็บไซต์

ข้อเสีย (Cons)

  • มีปัญหาด้านความปลอดภัย
  • ประสิทธิภาพทำงานบนเบราว์เซอร์ไม่เสถียร

2. SQL

SQL ภาษาที่ใช้สำหรับการเข้าถึงและจัดการข้อมูลในรูปของตาราง (Table) ถูกพัฒนาโดยกลุ่มบริษัท IBM ในปี 1970 และต่อมากลายเป็นมาตรฐานสากลของ ANSI (Americal National Standards Institute) ในปี 1986 เป็นภาษาจัดการข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน สามารถเรียนรู้ได้ง่าย

  • เหมาะสำหรับ : ผู้เริ่มเรียนรู้
  • ระดับความยาก : เรียนรู้ได้ง่าย แต่จะยากขึ้นตามความซับซ้อน
  • ทักษะที่จำเป็น : -
  • กรณีการใช้งาน (Use Cases) : Data science, Back-end database management, Business intelligence tools, Sales reports

ข้อดี(Pros)

  • ทำงานกับฐานข้อมูลได้สะดวก
  • การประมวลผลที่รวดเร็ว
  • ย้ายข้อมูลระหว่างฐานข้อมูลได้ง่าย
  • มีความปลอดภัยสูง
  • มีชุมชนนักพัฒนาขนาดใหญ่ ที่คอยช่วยเหลือกัน

ข้อเสีย (Cons)

  • ไม่ได้ open source
  • ไม่เหมาะสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน

3. Python

Python เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ผู้พัฒนา Guido van Rossum ต้องการให้เป็นภาษาสคริปต์ที่อ่านง่าย โดยตัดความซับซ้อนของโครงสร้างและไวยากรณ์ออกไป การเขียนโปรแกรมของ Python นั้น สามารถรองรับได้ทั้งการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) และการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (Functional Programming) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาจึงทำให้เป็นที่นิยมในหมู่นักพัฒนาซอฟต์แวร์มือใหม่หรือผู้ที่เริ่มต้นเรียนรู้ได้ดี

  • เหมาะสำหรับ : ผู้เริ่มเรียนรู้
  • ระดับความยาก : ง่ายต่อการเรียนรู้
  • ทักษะที่จำเป็น : พื้นฐานด้าน Front-end
  • กรณีการใช้งาน (Use Cases) : Back-end web development, Desktop applications, Data science, Automation, Deep learning applications, Machine learning and scientific computing

ข้อดี(Pros)

  • Open-source
  • ใช้งานได้หลากหลาย เหมาะสำหรับพัฒนาแอปที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อน
  • มี GUI framework ที่หลากหลาย
  • รองรับระบบปฏิบัติการ Mac และ Windows
  • มีชุมชนนักพัฒนาที่คอยช่วยเหลือกัน กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง 

ข้อเสีย (Cons)

  • ทำงานช้ากว่าภาษาที่ Compiler แล้ว
  • ใช้หน่วยความจำ (Memory) สูงกว่าภาษาอื่น
  • ไม่เหมาะกับการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ

4. TypeScript

TypeScript ภาษาส่วนเสริมของ JavaScript ที่มีการกำหนดประเภทของข้อมูลอย่างเข้มงวดและแม่นยำ สามารถช่วยให้การเขียนโปรแกรมภาษา JS เกิดความถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการตรวจหาความผิดพลาดก่อนที่โปรแกรมจะทำงาน หากเข้าใจพื้นฐานของภาษา JavaScript ก็สามารถเรียนรู้และใช้งานได้อย่างง่ายดาย

  • เหมาะสำหรับ : นักพัฒนา JavaScript ที่มีประสบการณ์
  • ระดับความยาก : ปานกลางถึงสูง
  • ทักษะที่จำเป็น : พื้นฐานภาษา JavaScript
  • กรณีการใช้งาน (Use Cases) : Web (Angular, React, Vue.js), Mobile (React Native). Desktop (Electron)

ข้อดี(Pros)

  • ช่วยตรวจหาข้อผิดพลาด และรายงานระหว่างการพัฒนา
  • ตรวจสอบประเภทข้อมูลในขณะคอมไพล์ มั่นใจได้ว่าการเรียกใช้โค้ดจะมีความเข้ากันได้
  • สามารถทำงานได้กับทุกระบบปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็น Windows, macOS หรือ Linux
  • อนุญาตให้ควบคุม DOM ได้เหมือนกับ JavaScript

ข้อเสีย (Cons)

  • ความซับซ้อนของโค้ดที่มากขึ้น เพิ่มเวลาในการเขียน
  • เรียนรู้ยากกว่าภาษา JavaScript

5. Go

  • เหมาะสำหรับ : ผู้เริ่มเรียนรู้ - ระดับกลาง
  • ระดับความยาก : ง่ายต่อการเรียนรู้
  • ทักษะที่จำเป็น : ทักษะภาษา C หรือ Java ที่ดี
  • กรณีการใช้งาน (Use Cases) : Back-end web development, Web applications, Machine learning, System programming, Big data

ข้อดี(Pros)

  • Open-source
  • ทำงานได้รวดเร็ว
  • เขียนโค้ดแบบหลายเธรดได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ
  • มีระบบความปลอดภัยสูง

ข้อเสีย (Cons)

  • Library มีจำกัด การพัฒนาที่ต้องใช้ไลบรารีจำนวนมาก จะทำได้ไม่สะดวก
  • ไม่สามารถเขียนโค้ดแบบทั่วไปได้
  • ไม่เหมาะสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน

6. PHP

PHP ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับพัฒนาเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีลักษณะการทำงานแบบ server-side scripting ที่โค้ดของ PHP จะถูกประมวลผลที่เซิร์ฟเวอร์ก่อนจะส่งผลลัพธ์ HTML ไปยังเว็บเบราว์เซอร์ของผู้ใช้ ภาษา PHP มีรากฐานมาจากภาษา C, Java และ Perl ที่ยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถทำงานได้กับระบบปฏิบัติการ เว็บเซิฟเวอร์หลายชนิด และฐานข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้

  • เหมาะสำหรับ : ผู้เริ่มเรียนรู้
  • ระดับความยาก : ง่ายมากที่จะเรียนรู้
  • ทักษะที่จำเป็น : พื้นฐานการเขียนโปรแกรม และความคุ้นเคย HTML กับ CSS
  • กรณีการใช้งาน (Use Cases) : Web development, Desktop applications, Computer programs

ข้อดี(Pros)

  • Open-source
  • PHP 7 มีความเร็วการทำงาน ที่สูงถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้า
  • เป็นที่ยอมรับสำหรับการพัฒนาเว็บ
  • รองรับทั้งการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP) และการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (FP)
  • มีชุมชนนักพัฒนาขนาดใหญ่ ที่คอยช่วยเหลือกัน

ข้อเสีย (Cons)

  • ความเร็วการพัฒนาเว็บไซต์ด้วย PHP อาจจะช้ากว่าการพัฒนาด้วยภาษา Python หรือ JavaScript
  • การแก้ใขข้อผิดพลาดจะทำได้ยากและใช้เวลานานกว่า เนื่องจากมีเครื่องมือ Debugger น้อยกว่าภาษาอื่น

7. Java

Java ภาษาพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ ที่สามารถทำงานได้บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคการคอมไพล์โค้ดเป็น bytecode ที่รันได้บน Java Virtual Machine (JVM) ที่เขียนเฉพาะสำหรับแต่ละระบบปฏิบัติการ ภาษา Java นั้นมีรูปแบบกับไวยากรณ์ที่คล้ายภาษา C, C++ แต่มีความง่ายกว่า

  • เหมาะสำหรับ : ผู้เริ่มเรียนรู้
  • ระดับความยาก : ค่อนข้างง่าย
  • ทักษะที่จำเป็น : พื้นฐานการเขียนโปรแกรม
  • กรณีการใช้งาน (Use Cases) : Mobile development, Application development, Desktop applications, Web applications, Game development, Machine learning and scientific computing

ข้อดี(Pros)

  • นำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย
  • เรียนรู้ เขียน Compile และ debug ได้ง่าย
  • Frameworks มีมากมายที่ช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ Java ทำได้เร็วขึ้น
  • API ครอบคลุมการพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ
  • สามารถพัฒนาแอปหลายอย่างได้พร้อมกัน
  • ความปลอดภัยทำได้ดี
  • เข้ากันได้กับหลายแพลตฟอร์ม สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ได้

ข้อเสีย (Cons)

  • เวลาในการรันช้า เพราะต้องแปลโค้ดเป็นภาษาเครื่องก่อน
  • ใช้หน่วยความจำ (Memory) มากกว่าแอปพลิเคชันที่เขียนด้วยภาษาอื่น

8. Rust

Rust ภาษาที่พัฒนาโดยวิศวกรของ Mozilla ถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับภาษา C/C++ มีจุดเด่นสามารถป้องกันการใช้หน่วยความจำที่ผิดพลาด (Buffer Overflow ปัญหาที่พบบ่อยของภาษา C) คุณสมบัตินี้อาจคล้ายกับภาษายุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Java, Python หรือ GO แต่ Rust นั้นจะใช้เทคนิคจัดการหน่วยความจำที่ต่างกันออกไป ทำให้โปรแกรมไม่ต้องหยุดทำงานขณะมาจัดการหน่วยความจำ

  • เหมาะสำหรับ : นักพัฒนาที่มีประสบการณ์
  • ระดับความยาก : ปานกลางถึงสูง
  • ทักษะที่จำเป็น : พื้นฐานภาษา OOP (Java, Python หรือ C++)
  • กรณีการใช้งาน (Use Cases) : General programming, Web development, Data science, AR/VR

ข้อดี(Pros)

  • ไม่ต้องใช้ Garbage Collector แต่ใช้การเช็คความถูกต้องของตัวแปร ลดความเสี่ยงข้อผิดพลาดที่เกี่ยวกับหน่วยความจำ
  • มีเครื่องมือช่วยพัฒนาโปรแกรม
  • ความปลอดภัยสูง ไม่มีข้อผิดพลาดที่เกี่ยวกับหน่วยความจำ
  • สามารถใช้ Library และเครื่องมือของภาษา C/C++ ได้ 

ข้อเสีย (Cons)

  • มีความซับซ้อนในการเขียนโค้ด ต้องมีความรู้การเช็คความถูกต้องของตัวแปร
  • ฐานข้อมูลและ Library ยังไม่ครบถ้วน ต้องพึ่งพาบริษัทใหญ่

9. Kotlin

Kotlin ภาษาที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท JetBrains เพื่อใช้ทดแทนภาษา Java ที่มีข้อบกพร่องหลายจุด ด้วยความเข้ากันได้ 100% กับแพลตฟอร์ม Java จึงใช้ประโยชน์จาก Library, Framework, API และเครื่องมือจำนวนมากที่มีอยู่แล้วได้ ทำให้สามารถผสมผสานโค้ดเก่าที่เป็น Java กับโค้ดใหม่ Kotlin ได้อย่างราบรื่น ช่วยลดงานของนักพัฒนาได้เป็นอย่างดี

  • เหมาะสำหรับ : ผู้เริ่มเรียนรู้
  • ระดับความยาก : ปานกลาง
  • ทักษะที่จำเป็น : พื้นฐานภาษา Java
  • กรณีการใช้งาน (Use Cases) : Android development, Back-end web development, Full-stack web development, Data science, Multi-platform mobile development

ข้อดี(Pros)

  • กระชับ อ่านง่าย ใช้บรรทัดน้อยแต่สามารถทำงานได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับ Java
  • สามารถตรวจจับข้อผิดพลาดหรือบั๊ก (Bug) ที่เป็นไปได้ระหว่างการ compiler
  • แก้ปัญหาที่พบบ่อยของ Java (Functional Programming, Null Safety) 
  • รองรับการพัฒนาแอปข้ามแพลตฟอร์ม
  • ทำงานเข้ากันได้กับภาษา Java 100%

ข้อเสีย (Cons)

  • มีนักพัฒนาเลือกใช้ภาษา Kotlin น้อยกว่า Java แม้ว่า Google จะแนะนำให้ใช้ Kotlin ก็ตาม
  • ทรัพยากรการเรียนรู้น้อยกว่าภาษา Java ทำให้อาจเป็นเรื่องยากสำหรับนักพัฒนามือใหม่
  • Kotlin อาจคล้ายกับ Java แต่ก็แตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน จำเป็นที่ต้องใช้เวลาและการฝึกฝนจนชำนาญ
  • ชุมชนนักพัฒนายังมีขนาดเล็ก แต่กำลังเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี

10. Swift

Swift ภาษาใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท Apple เพื่อใช้สร้างแอปพลิเคชันสำหรับ iOS, Mac, Apple TV, Apple Watch และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีรากฐานมาจากภาษา C, Objective-C และ Cocoa ให้เข้ากันได้กับโค้ด Objective-C ที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นภาษา Open-source ที่เปิดให้นักพัฒนากับชุมชนมามีส่วนในการพัฒนาและปรับปรุงภาษา Swift อีกด้วย

  • เหมาะสำหรับ : ผู้เริ่มเรียนรู้
  • ระดับความยาก : ง่ายต่อการเรียนรู้
  • ทักษะที่จำเป็น : ง่ายต่อการเรียนรู้ และการเขียน
  • กรณีการใช้งาน (Use Cases) : Software development, macOS and iOS apps

ข้อดี(Pros)

  • Open-source
  • ทำงานได้เร็วกว่า Objective-C ที่ Apple ใช้พัฒนาแอปถึง 2.6 เท่า
  • อ่านโค้ดได้เรียบง่าย ตรงไปตรงมา
  • ทำงานร่วมกับ Objective-C ได้ นักพัฒนาสามารถย้ายโค้ดไปมาได้อย่างง่ายดาย
  • ใช้หน่วยความจำน้อยกว่า Objective-C ทำให้แอปที่เขียนทำงานได้ราบรื่น และประหยัดพลังงานมากขึ้น 

ข้อเสีย (Cons)

  • ยังถือว่าเป็นภาษาโปรแกรมน้องใหม่ ทำให้ยังมีฟังก์ชันกับคุณสมบัติที่ยังไม่ครบถ้วน เมื่อเทียบกับภาษาอื่น
  • ไม่รองรับ iOS เวอร์ชันเก่า ภาษา Swift สามารถรองรับ iOS 13 ได้ขึ้นไปเท่านั้น

บทสรุป

สรุปแล้ว ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ คือเครื่องมือที่เขียนคำสั่งหรือโค้ด เพื่อสร้างแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมตามต้องการ ให้ทำงานได้ตามที่สั่ง โดยภาษาที่ใช้พัฒนาซอฟต์แวร์นั้น มีมากกว่า 700 ภาษาในปัจจุบัน การจะเลือกภาษาอะไรมาเขียนให้กับซอฟต์แวร์อะไร จึงเป็นหน้าที่ของนักพัฒนาที่จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับโปรเจกต์นั่นเอง