Business

หัวใจและขั้นตอนการออกแบบ Website E-Commerce เพื่อสร้างยอดขายให้ธุรกิจ

February 22, 2024

หัวใจและขั้นตอนการออกแบบ Website E-Commerce เพื่อสร้างยอดขายให้ธุรกิจ

การสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซให้ประสบความสำเร็จที่สร้างยอดขายทางธุรกิจได้ตามเป้าหมายที่คาดหวัง เบื้องหลังความสำเร็จของเว็บไซต์รูปแบบ E-commerce นี้ มีส่วนใดเป็นปัจจัยสำคัญบ้าง FoxBith จะพามาไขเคล็ดลับความสำเร็จของการออกแบบเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ถึงวิธีการที่จะทำให้ได้รับความนิยม มีลูกค้าเข้าเว็บไซต์ตลอด 24 ชั่วโมง เข้าถึงลูกค้าออนไลน์ได้ทั่วโลก พร้อมมีบริการที่รองรับความสะดวกสะบายในการชำระเงิน เพื่อเพิ่มยอดขายและกำไรของธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น

ธุรกิจ E-commerce คืออะไร

E-Commerce ย่อมาจากคำว่า Electronic Commerce คือ อีคอมเมิร์ซ, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง

หรือที่เรียกกันง่าย ๆ คือ การซื้อขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ เช่น ไม่ว่าจะเป็น Website, E-Marketplace หรือ Social Commerce ที่เป็นแพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อ ทั้งการจ่ายเงินและการขนส่ง ที่สามารถเลือกช้อปสินค้าเพียงปลายนิ้วและรอไม่นานของก็จะไปส่งที่หน้าบ้านของลูกค้า 

ประโยชน์ของการทำธุรกิจ E-commerce มีอะไรบ้าง ?

ซึ่งธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความที่ระบบ E-commerce มีความสะดวกต่อการใช้งาน ทั้งการเข้าใจข้อมูลสินค้า การชำระเงินที่รองรับหลากหลายความต้องการ เช่น ผ่านบัตรเครดิต การโอน การซื้อก่อนจ่ายทีหลัง รวมทั้งการจัดส่งสินค้าที่ไม่ต้องรอนาน อีกทั้งการซื้อของออนไลน์ยังมีราคาถูกกว่าการเดินทางออกไปซื้อที่หน้าร้าน ตอบโจทย์นักช้อปซื้อสินค้าที่ชอบในราคาที่ถูกได้เพียงปลายนิ้ว ทำให้ธุรกิจ E-commerce เป็นที่นิยมทั้งในไทยและทั่วโลก โดยคนไทยติดอันดับนักช้อปออนไลน์สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก! ที่ใช้อินเทอร์เน็ตแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตไปแล้ว โดยใช้อินเตอร์เน็ตกันมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมงต่อวัน

เปรียบเทียบแพลตฟอร์ม E-commerce มีข้อดีข้อเสียอย่างไร?

รูปแบบการขายสินค้าบนระบบ E-commerce มีหลากหลายช่องทางที่สามารถทำได้ โดยมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป โดยเจ้าของธุรกิจสามารถวางแผนการเติบโตในธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้

1. Marketplace

Marketplace คือเว็บไซต์ที่เป็นเหมือนช่องทางกลาง เพื่อรวบรวมแบรนด์หรือร้านค้าต่างๆ เข้ามาสร้างหน้าร้านและวางสินค้าผ่านออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาศในการขยายฐานลูกค้าไปทั่วโลก ตัวอย่างเช่น Lazada, Shopee เป็นต้น

ข้อดีของ Marketplace

  • เป็นแพลตฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับลูกค้า สามารถตรวจสอบได้
  • เหมาะสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น เพราะมีระบบหลังบ้านในการจัดการสินค้าได้สะดวก ตั้งแต่รูปแบบร้านค้าออนไลน์ ระบบการสั่งซื้อ และระบบชำระเงิน
  • ลูกค้าที่เข้ามามีความต้องการซื้ออยู่แล้ว ทำให้มีโอกาสขายได้มาก และสามารถขยายตลาดไปยังต่างประเทศได้

ข้อเสียของ Marketplace

  • มีค่าธรรมเนียมในการขายสินค้า เช่น ค่าธรรมเนียมรายปี หรือ ส่วนแบ่งจากยอดขาย ที่ต้องจ่ายให้กับทาง Marketplace
  • มีการแข่งขันสูง เพราะมีผู้ขายจำนวนมาก ผู้ที่จะประสบความสำเร็จจำเป็นต้องรู้เทคนิค และวิธีการที่ใช้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • เป็นช่องทางที่ไม่เหมาะสมสำหรับการสร้างแบรนด์ ควรเป็นเฉพาะการต่อยอดช่องทางการขาย
  • ไม่สามารถ Custom ระบบได้ตามความต้องการของเจ้าของธุรกิจ

2. Social Commerce

Social Commerce คือการซื้อขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย (Social Media) เช่น Facebook, Instagram, Twitter, LINE เป็นต้น โดยสามารถซื้อสินค้าผ่านฟีเจอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาและรองรับการชำระเงินได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องออกจากแพลตฟอร์มนั้นๆ

ข้อดีของ Social Commerce

  • มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นช่องทางที่แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและรวดเร็ว
  • ผู้ซื้อ-ผู้ขาย สามารถโต้ตอบระหว่างกันได้ทันที
  • มีการพัฒนาฟีเจอร์ที่รองรับการใช้งานด้าน E-Commerce เช่น การสั่งซื้อสินค้า มีเก็บฐานข้อมูลลูกค้า เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เป็นต้น
  • ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายของระบบไม่สูงนัก

ข้อเสียของ Social Commerce

  • มีความน่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าน้อยกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ 
  • มีความไม่แน่นอน เจ้าของแบรนด์ไม่ได้เป็นเจ้าของ 100% เพจหรือบัญชีการใช้งานอาจโดนระงับจากผู้ให้บริการ
  • ไม่สามารถ Custom ระบบได้ตามความต้องการของเจ้าของธุรกิจ

3. เว็บไซต์ E-commerce / Brand.com

เว็บไซต์ E-commerce / Brand.com คือการสร้างแบรนด์เว็บไซต์แล้วทำการซื้อขายโดยตรงกับลูกค้า

ข้อดีของ เว็บไซต์ E-commerce / Brand.com

  • สร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์ มีตัวตนสำหรับลูกค้า
  • สามารถออกแบบเว็บไซต์ได้ตามความต้องการ
  • จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ข้อเสียของ เว็บไซต์ E-commerce / Brand.com

  • มีต้นทุนการบริหารจัดการเว็บไซต์ที่ค่อนข้างสูงในช่วงแรก
  • จะต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาเว็บไซต์ ให้สอดรับกับพฤติกรรมการใช้งาน หรือความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ขั้นตอนการออกแบบเว็บไซต์ E-commerce 

จากที่ประเมินข้อดีข้อเสียของแต่ละรูปแบบของ E-commerce ไปกันแล้ว FoxBith ขอนำเสนอการสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ดีต่อการทำธุรกิจทำให้ส่งเสริมยอดขายและสะดวกต่อผู้ใช้งาน อีกทั้งคุ้มค่าต่อการลงทุนทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในระยะยาวอีกด้วย จะมีวิธีการอย่างไรบ้างไปดูกันเลย

1. User-Friendly 

คือการอำนวยวามสะดวกกับลูกค้าที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ ควรวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้เป็นระเบียบ จัดหมวดหมู่สินค้าชัดเจน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการออกแบบเว็บไซต์ โดยพบกว่ากว่า 76% ของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ต้องการเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย หาข้อมูลง่าย เลือกซื้อสินค้าก็ง่าย

2. Mobile-Friendly Website

กลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่านออนไลน์หรือผ่านระบบ E-commerce จากผลสำรวจของ Crito พบว่ากว่า 50% ของผู้ชำระเงินซื้อสินค้ามักใช้งานเว็บไซต์ผ่านมือถือ ดังนั้นคุณต้องการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซให้ประสบความสำเร็จ สร้างเว็บไซต์ให้คนเข้ามาซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง ควรสร้างเว็บไซต์ให้รองรับกับทุกอุปกรณ์ทั้ง แท็บเล็ต และ มือถือ โดยสร้างเว็บไซต์ให้เป็น Responsive Website ข้อดีที่นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าแล้ว เว็บไซต์ที่รองรับมือถือยังส่งผลดีต่อการจัดอันดับบน Google ด้วย

3. ภาพประกอบเว็บไซต์ต้องคมชัด

ภาพสินค้าที่นำมาลงในเว็บไซต์ ต้องคมชัดและมีความน่าสนใจดึงดูดความต้องการของลูกค้า ทั้งภาพรวมสินค้า สภาพแวดล้อม สื่ออารมณ์เมื่อใช้สินค้า 

โดยเมื่อเลือกภาพที่ต้องการได้แล้ว คมชัดมีความละเอียดสูงแล้ว ยังควรคำนึงถึงการอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ ก็ควรเลือกใช้นามสกุลไฟล์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้ภาพบนเว็บไซต์โหลดได้เร็วขึ้น เพื่อให้ลูกค้าเมื่อเข้ามาชมเว็บไซต์จะเห็นภาพสินค้าได้ทันใจ เพื่อโอกาสในการในการซื้อสินค้าได้อีกด้วย

4.โปรโมชั่น ข้อเสนอที่น่าสนใจ

จัดแคมเปญส่งเสริมการขาย ยกตัวอย่างเช่น โปรโมชั่น Double Day ในแต่ละเดือน เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อ หากเว็บไซต์ของคุณมีฟังก์ชั่นที่สามารถจัดโปรโมชั่น ลด, แลก, แจก, แถม ก็จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณสร้างยอดขายได้ไม่ยากเลย

 5. ระบบสั่งซื้อ/ตะกร้าสินค้า

ควรออกแบบเว็บไซต์ให้มีฟีเจอร์ที่รองรับการซื้อขายสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง นั่นคือระบบตะกร้าสินค้า หรือระบบสั่งซื้อ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบสินค้าที่ต้องการไว้ในตระกร้า รวมถึงประเมินราคาสินค้าที่ต้องการได้ อีกทั้งแสดงผล ส่วนลด ค่าขนส่ง ก่อนจะตัดสินใจชำระเงินได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

ซึ่งฟีเจอร์ตระกร้าสินค้าและระบบสั่งซื้อ นอกจากจะมีประโยชน์ต่อลูกค้าแล้วในมุมผู้ขายหรือธุรกิจ สามารถนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและต่อยอดการโฆษณาเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้อีกด้วย

6. Search & Filter

เมื่อลูกค้าเข้าชมเว็บไซต์สินค้าออนไลน์ที่มีจำนวนมาก การออกแบบเว็บไซต์ที่จะอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเจอสินค้าที่ต้องการโดยเร็วที่สุดนั้นคือฟีเจอร์ Search หรือ Filter ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเว็บไซต์ E-commerce เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเว็บไซต์ของเรามีสินค้าอะไรบ้าง ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้ลูกค้าตามหาสินค้าที่ต้องในเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น สิ่งที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ควรคิดต่อคือการใส่ชื่อ Headline ในแต่ละหน้าสินค้าให้มีทั้งชื่อสินค้าทั่วไป ชื่อสินค้าที่แบรนด์เรียกกันเอง เพื่อให้ครอบคลุมถึงสิ่งที่ลูกค้าจะค้นหา เช่น 

7. สินค้าที่เกี่ยวข้อง

Recommendation System คือระบบการแนะนำสินค้าที่มีความเกี่ยวข้อง หรือใกล้เคียง เพื่อเพิ่มทางเลือกในการซื้อสินค้าที่ต้องการ หากสินค้าที่ลูกค้าต้องการหมด ระบบก็จะแนะนำสิ่งที่ใกล้เคียงให้ลูกค้าเลือกช้อปต่อในเว็บไซต์ 

ระบบนี้นอกจากจะแนะนำสินค้าใกล้เคียงแล้ว ยังสามารถปรับใช้ให้ลูกค้าซื้อเพิ่มในสินค้าหมวกอื่นๆ เพื่อให้ได้ส่วนลดพิเศษ เพิ่มโอกาสในการการขายได้หลากหลายรูปแบบ เป็นระบบที่น่าสนใจที่เจ้าของธุรกิจควรนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในมุมของ Up-selling, Cross-selling

8. Social Proof

Social Proof คือการใช้บุคคลมาบอกต่อให้กับลูกค้า เพื่อช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ เป็นหนึ่งในเทคนิคที่ช่วยโน้มน้าวลูกค้าให้เกิดการตัดสินใจซื้อ หรือที่เข้าใจง่ายคือ การรีวิวสินค้าผ่านผู้ใช้อินฟลูเอนเซอร์ หรือ ผู้ใช้งานจริง

จากสถิติการสำรวจลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์ปี 2023 “นักช้อปออนไลน์ที่อ่านรีวิวสินค้า เพิ่มโอกาสในการตัดสินใจซื้อได้กว่า 57%”

โดยวิธีการนำ Social Proof มาปรับใช้ สามารถทำได้ 5 อย่างดังนี้

  1. การให้ผู้เชี่ยวชาญมายืนยัน
  2. การใช้ผู้ที่มีชื่อเสียง มาบอกเล่าสินค้า
  3. การให้ผู้ใช้งานจริงมาบอกต่อ
  4. การบอกปากต่อปาก จากคนใกล้เคียง
  5. การใช้สิ่งที่คนกำลังให้ความสนใจนำเสนอ

โดยเจ้าของแบรนด์อาจลองนำไปปรับใช้โดยการนำสิ่งที่ลูกค้าชื่นชมมาแชร์ลงใน Social Page หรือ Website รวมถึงศึกษาเทรนด์ที่กำลังเป็นที่นิยมและมีความใกล้เคียงกับธุรกิจเพื่อ Tie-in สินค้าให้เข้ากับกระแสความนำยม สร้างการเข้าถึงของแบรนด์เพิ่มขึ้น

ในการออกแบบเว็บไซต์ E-commerce ให้มี Social Proof อยู่ด้วยนั้น ก็สามารถทำได้เช่น การใส่ให้ลูกค้ารีวิวเมื่อได้รับสินค้า หรือ การให้ดาว เพื่อให้ลูกค้าคนอื่นๆเมื่อเข้ามาดูหน้าสินค้านั้นจะได้อ่านข้อมูลรีวิวหรือเห็นความนิยม หรือเกิดความเชื่อมั่นที่จะซื้อสินค้านั้นไปใช้

9. ความปลอดภัยของเว็บไซต์

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเป็นเว็บที่มีลูกค้าชำระเงินผ่านเว็บไซต์อยู่ตลอดเวลา ความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หาก Hacker หรือผู้ไม่ประสงค์ดี ขโมยข้อมูลบัตรเครดิต ก็จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์แบรนด์และเกิดความเสียหายถึงลูกค้าของธุรกิจคุณด้วย

ดังนั้นการสร้างเว็บไซต์จึงต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้วยเพื่อไม่ให้ถูกโจรกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ โดยใช้ความปลอดภัยที่เรียกว่า SSL (Secure Socket Layer) คือ การเข้ารหัสข้อมูลที่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือที่สุด โดยจะเพิ่มการรักษาความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล ผ่าน URL ที่เป็น HTTPS ทั้งในเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นต่างๆ หรือเว็บไซต์ที่เป็น HTTPS จะช่วยให้เว็บไซต์ธุรกิจของคุณมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ให้ลูกค้าซื้อสินค้าในเว็บไซต์ได้อย่างมั่นใจ อีกทั้งยังส่งผลดีต่อการจัดอันดับของ Google อีกด้วย

10. ช่องทางการรับชำระเงิน

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่เว็บไซต์ E-commerce จะขาดไปไม่ได้ การให้ความสะดวกกับลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต้องมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายให้ลูกค้าเลือก รับได้ทั้งบัตรเดบิต และบัตรเครดิต 

48% ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าออนไลน์เลือกชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิต หากคุณต้องเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ลองศึกษาระบบ Payment Gateway จะช่วยให้คุณรู้จัก และเลือกใช้ระบบการชำระเงินที่เหมาะกับแบรนด์ของคุณได้ เช่น รูปแบบการผ่อนชำระ รูปแบบการโอนจ่าย รูปแบบตัดบัตรเครดิตมีค่าธรรมเนียม หรือไม่มีค่าธรรมเนียมแต่ต้องมียอดการสั่งซื้อขั้นต่ำ

11. ข้อมูลการจัดส่งสินค้า

เว็บไซต์ E-ommerce ที่ดีจะต้องบอกรายละเอียดของการจัดส่งสินค้า ผู้ให้บริการขนส่งเป็นใคร ใช้เวลานานเท่าไหร่ คิดค่าขนส่งอย่างไร หรือถ้าออกแบบเว็บไซต์ให้มีระบบ Tracking Order เพื่อให้ลูกค้าคลิกและเห็นภาพในการบอกสถานะว่าผู้จัดส่งใกล้ถึงแล้วหรือยัง

12. หน้าติดต่อเรา

สิ่งที่ช่วยให้เว็บไซต์ E-commerce มีความน่าเชื่อถือ คือการบอกรายละเอียดที่อยู่และช่องทางการติดต่อของแบบรนด์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อกลับเพื่อถามรายละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อหรือเมื่อหลังการซื้อแล้วหากเกิดปัญหาจะได้ติดต่อแบรนด์ได้โดยตรง สร้างความสบายใจให้ลูกค้าได้อีกด้วย นอกจากนี้หากธุรกิจของคุณมีหน้าร้าน หรือมีหลายสาขา การเชื่อมต่อกับ Google Map ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถไปร้านคุณได้อย่างถูกต้อง

13. นโยบายการคืนสินค้า

กรณีที่ลูกค้าอาจไม่พอใจกับสินค้าที่ได้รับ อาจมาจากหลายสาเหตุ สินค้าอาจมีข้อบกพร่อง เกิดการชำรุด หรือสินค้าไม่ตรงกับที่สั่ง แน่นอนว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการก็คือการขอเปลี่ยน หรือขอเงินคืน

ธุรกิจจึงต้องออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับการคืนหรือชดเชย โดยควรมีการทำนโยบายการคืนสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีภาพประกอบให้ชัดเจน นโยบายยังเป็นอีกคุณสมบัติที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้า

รวมวิธีการเว็บไซต์ E-commerce ให้ประสบความสำเร็จ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเทคนิคการสร้างเว็บไซต์ E-commerce เพื่อสร้างยอดขายให้ธุรกิจ ใครที่กำลังจะพัฒนาเว็บไซต์ลองนำไป 13 เทคนิคนี้ปรับใช้กัน อาจมีบางจุดที่เว็บไซต์ของคุณสามารถปรับปรุงได้ดีขึ้น หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่ FoxBith.com