Technology

[คู่มือเริ่มต้น] การพัฒนาแอปพลิเคชัน ทุกขั้นตอนตั้งแต่พื้นฐาน

April 24, 2024

[คู่มือเริ่มต้น] การพัฒนาแอปพลิเคชัน ทุกขั้นตอนตั้งแต่พื้นฐาน

ในยุคที่การใช้งานอุปกรณ์พกพาอย่าง สมาร์ทโฟน (Smart phone) และแท็บเล็ต (Tablet) ได้กลายเป็นส่วนที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน การจะใช้งานอุปกรณ์พกพาทั้งหลายนั้น จะต้องอาศัยโปรแกรมประยุกต์ หรือแอปพลิเคชัน (Application) เพื่อให้สามารสั่งใช้งานได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะการค้นหาข้อมูล สื่อสาร การศึกษา เล่นเกม หรือการทำธุรกิจ

ส่งผลให้ การพัฒนาแอปพลิเคชัน เป็นหนึ่งในธุรกิจที่มี Potential สูง และมีผลต่อความเป็นไปของเทรนด์หลายอย่างที่เกิดจากผู้ใช้ แต่การพัฒนาแอพพลิเคชั่นไม่ใช่แค่คิดก็สร้างได้ ทำให้ต้องมีขั้นตอน กับกระบวนการที่ควรจะปฏิบัติตาม ให้ได้แอปพลิเคชันที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และใช้งานได้จริง

การพัฒนาแอปพลิเคชัน คืออะไร

การพัฒนาแอปพลิเคชัน (Application Development) คือ กระบวนการสร้างซอฟต์แวร์ประยุกต์ หรือที่เรียกว่า แอปพลิเคชัน (Application) ทุกประเภท โดยถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานบนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างโมบายอุปกรณ์ เดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่อุปกรณ์เครื่องใช้อัจฉริยะที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น สมาร์ทวอทช์ (Smart watch), หูฟังไร้สาย, อุปกรณ์ IoT สำหรับบ้าน (Smart home) ฯลฯ

แอปพลิเคชันที่ประสบผลสำเร็จนั้น ล้วนเกิดจากกระบวนการพัฒนาที่อาศัยการวางแผนอย่างรอบคอบเป็นขั้นเป็นตอน ยิ่งกรณีที่มีทีมนักพัฒนา (Dev) จำนวนมาก หากขาดการวางแผนและการประสานงานที่ดี ก็มักจะนำไปสู่ความล้มเหลวอย่างการพัฒนาคุณสมบัติที่ไม่ตรงกับ requirement ของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความไว้วางใจที่มีให้ได้ในระยะยาว

7 ขั้นตอน การพัฒนาแอปพลิเคชัน

การพัฒนาแอปพลิเคชัน เป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอน ที่เชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุมีผล ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ต่อไปนี้ 

1. กำหนดกลยุทธ์ (Strategy Development)

ขั้นตอนแรกของการพัฒนาแอปพลิเคชัน ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางและเป้าหมายของโปรเจกต์การพัฒนาแอพพลิเคชั่นทั้งหมด ในขั้นตอนนี้ ทีมนักพัฒนาจะต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการ และเป้าหมายทางธุรกิจที่อยู่เบื้องหลังการสร้างแอปพลิเคชัน รวมทั้งวิเคราะห์ตลาดกับความยากง่ายในการแข่งขันกับคู่แข่ง เพื่อกำหนดจุดแข็ง จุดเด่น และคุณค่าเฉพาะของแอปพลิเคชันที่จะพัฒนา

2. วิเคราะห์และวางแผน (Analysis & Planning)

หลังจากกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจน ต่อมาคือการวิเคราะห์และวางแผนโครงการอย่างละเอียด โดยจะกำหนดขอบเขต ขั้นตอน และกรอบเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน รวมถึงการระบุทรัพยากรที่จำเป็นต่อโปรเจกต์ อย่างบุคลากร งบประมาณ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ต้องใช้ นอกจากนี้ยังต้องวางแผนการบริหารความเสี่ยง กับปัญหา หรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นด้วย เพื่อให้โปรเจกต์การพัฒนาแอพพลิเคชั่นดำเนินไปอย่างราบรื่น และประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

3. การออกแบบ UI/UX

ในขั้นตอนการออกแบบ UI/UX ให้กับแอปพลิเคชัน นักออกแบบควรจะต้องทำงานร่วมกับนักวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรม ความต้องการ และจุดประสงค์ในการใช้แอพพลิเคชั่นของผู้ใช้อย่างลึกซึ้ง จากนั้นจึงวางแผนออกแบบคุณสมบัติการใช้งานที่ดีที่สุดสำหรับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการสร้างผังการทำงานของแอปพลิเคชัน เส้นทางการนำทาง และการจัดตำแหน่งองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างประสบการณ์ใช้งานที่น่าประทับใจ

4. การสร้างแอปพลิเคชัน (App Development)

หลังจากออกแบบวางแผนครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนนี้คือการสร้างแอปพลิเคชันขึ้นมา และถือเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นก็ว่าได้ โดยทีมนักพัฒนาจะนำแผนงาน ข้อกำหนดความต้องการ และข้อสรุปการออกแบบที่ได้จากขั้นตอนก่อนหน้า มาประมวลเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า “การเขียนโค้ด (Coding)”การเขียนโค้ดสำหรับสร้างแอปพลิเคชัน นักพัฒนาจะต้องมีความรู้กับทักษะทางภาษาโปรแกรม (Programming Languages) และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อย่าง Java, Kotlin, Swift, React, Native ฯลฯ รวมถึงเฟรมเวิร์ก (Frameworks) กับไลบรารี (Library) อื่น ๆ ที่ใช้ประกอบการพัฒนา และจะทำงานใกล้ชิดกับนักออกแบบกับนักวิเคราะห์ เพื่อให้แน่ใจว่าการเขียนโค้ดจะเป็นไปตามแผน ข้อกำหนด และการออกแบบที่วางไว้อีกทั้งต้องติดตามประสานงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่อาจเกิด ทำให้การใช้เครื่องมือช่วยจัดการโค้ด (Code Management Tools) กับการทำงานแบบ Agile สามารถช่วยให้การสร้างแอปพลิเคชันดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพได้

1. ทดสอบแอป (Application Testing)

ก่อนจะเผยแพร่แอปพลิเคชันสู่สาธารณะ จะต้องผ่านขั้นตอนการทดสอบอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่าแอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และตรงตามความคาดหวังของผู้ใช้ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การให้นักพัฒนาทดสอบแอปด้วยตนเอง ทดสอบโดยให้ผู้ใช้งานจริงลองใช้ หรือการใช้เครื่องมือทดสอบอัตโนมัติ กระบวนการทดสอบที่ดีจะช่วยให้ระบุและแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาด ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะส่งผลกระทบในวงกว้างในขั้นตอนการทดสอบแอป ควรจะกำหนดเลือกกรณีทดสอบให้ครอบคลุมทุกสถานการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นในการใช้งานจริง โดยพิจารณาจากข้อมูลพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ และจำลองสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับการใช้งานจริงมากที่สุด เช่นเป็นการทดสอบบนหลากหลายอุปกรณ์ ระบบปฏิบัติการที่แตกต่าง หรือทดลองใช้บนขนาดหน้าจอที่ไม่เท่ากัน

2. เผยแพร่แอปพลิเคชัน (Deployment)

เมื่อผ่านการทดสอบและปรับปรุงจนมั่นใจประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันแล้ว ในขั้นตอนการเผยแพร่หรือนำแอปไปใช้งานจริง รูปแบบการเผยแพร่อาจต่างกันไปตามประเภทของแอปและแพลตฟอร์มที่ใช้งาน เช่นโมบายแอพพลิเคชั่นอย่าง Android กับ iOS ก็ต้องเผยแพร่ผ่านทางแพลตฟอร์มจัดจำหน่ายแอปอย่างเป็นทางการ คือ Google Play Store สำหรับแอนดรอยด์ และ Apple App Store สำหรับไอโอเอส ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบอนุมัติตามนโยบายที่กำหนดอย่างเคร่งครัด"การเผยแพร่แอปพลิเคชันที่ดี ควรต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้เพื่อหาช่องทางการกระจายผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม และควรมีกลยุทธ์การตลาดในการสร้างการรับรู้ พร้อมโปรโมทให้แอปเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการได้อย่างแท้จริง"นอกเหนือจากแพลตฟอร์มจัดจำหน่าย หากเป็นการสร้างแอปพลิเคชันให้กับธุรกิจ ก็สามารถเลือกเผยแพร่แอปผ่านเว็บไซต์ตนเอง หรือการจัดจำหน่ายแบบองค์กร (Enterprise Deployment) ได้เช่นกัน

3. สนับสนุนและติดตามวัดผล (Support & Performance Monitoring)

หลังจากเผยแพร่สู่ผู้ใช้แล้ว ในขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ คือการให้บริการสนับสนุนและติดตามวัดผลการทำงานของแอป ตั้งแต่การให้คำปรึกษาแนะนำการใช้งาน การซ่อมแซมแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และการอัปเดตเวอร์ชันใหม่ พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นกับข้อร้องเรียนต่าง ๆ ผ่านช่องทางอย่างศูนย์บริการลูกค้า อีเมล แชทบอท ฯลฯซึ่งต้องติดตามและวัดผลการทำงานของแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับทราบถึงปัญหา จุดบกพร่อง และประสิทธิภาพการทำงานที่ต้องได้รับการปรับปรุง การติดตามนี้มักจะได้ผลสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ ๆ เช่นจำนวนผู้ใช้งาน ระยะเวลาการใช้ ปริมาณการดาวน์โหลด หรือคุณสมบัติที่ถูกใช้บ่อยเครื่องมือที่ใช้สำหรับติดตามวัดผล ควรจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลภายในแอปได้แบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยให้ผู้พัฒนาตรวจจับข้อผิดพลาด พร้อมอัปเดตแก้ไขได้ทันท่วงที เพราะหากไม่มีการติดตามผลการใช้งานอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดปัญหาถาวร และส่งผลให้ผู้ใช้เปลี่ยนไปใช้แอปพลิเคชันอื่น

การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น Android

ระบบปฏิบัติการ Android ถือเป็น platform หลักสําหรับการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันปัจจุบัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่า 70% ในไตรมาส 3 ปี 2023

การพัฒนาแอปพลิเคชันบน Android นักพัฒนามักจะเลือกใช้ภาษา Java หรือ Kotlin ควบคู่ไปกับ Android Studio ซึ่งเป็น IDE (Integrated Development Environment) อย่างเป็นทางการสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบนี้ และยังมีเครื่องมือกับไลบรารีจำนวนมาก ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาอย่าง Android Jetpack, Android Architecture Components และ Firebase

ข้อได้เปรียบของการพัฒนาแอปบน Android คือแหล่งรวมข้อมูลและชุมชนผู้ใช้งานขนาดใหญ่ ทำให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงข้อมูลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้สะดวกขึ้น แต่มีข้อท้าทายสำคัญคือความหลากหลายของอุปกรณ์และรุ่นของ Android ที่ทำให้ต้องคำนึงเรื่องความเข้ากันได้ กับประสิทธิภาพบนอุปกรณ์ต่าง ๆ

การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น iOS

ในทางกลับกัน iOS นั้นคือระบบปฏิบัติการเฉพาะ สำหรับอุปกรณ์ของ Apple เท่านั้น ที่ถึงแม้จะมีส่วนแบ่งการตลาดน้อยกว่า Android แต่ iOS ก็ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่นักพัฒนาให้ความสำคัญกันไม่น้อย

สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันบน iOS นักพัฒนาจำเป็นต้องใช้ภาษา Swift หรือ Objective-C ในการเขียนโค้ด และใช้ Xcode ซึ่งเป็น IDE สำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน ส่วนการออกแบบ UI/UX ของแอปพลิเคชัน iOS ก็ควรจะต้องสอดคล้องกับแนวทางการออกแบบของ Apple ที่เรียกว่า 'Human Interface Guidelines' เพื่อให้แอปพลิเคชันมีรูปแบบสอดคล้องกับระบบปฏิบัติการ iOS เพื่อให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดี

ข้อได้เปรียบของการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับ iOS คือความเป็นมาตรฐานเดียว และการควบคุมคุณภาพของ Apple ที่เข้มงวด ทำให้แอปพลิเคชันส่วนมากมีประสิทธิภาพสูง แต่การสร้างแอปพลิเคชันบน iOS มีข้อจำกัดสำคัญคือการที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ Mac กับมีค่าใช้จ่ายในการใช้ Apple Developer Program เพื่อเผยแพร่แอปบน App Store

อีกทั้งนักพัฒนายังต้องคำนึงเรื่องกระบวนการอนุมัติจาก Apple อีกด้วย เพราะแอปพลิเคชันทุกตัวที่จะเผยแพร่บน App Store ได้นั้น จะต้องผ่านการตรวจสอบจาก Apple เสียก่อน ซึ่งมีข้อกำหนดกับนโยบายที่ค่อนข้างเข้มงวดกว่าระบบปฏิบัติการอื่น

เคล็ด(ไม่)ลับ การพัฒนาแอปพลิเคชัน

การจะสร้างแอปพลิเคชันที่ดี นอกเหนือจากการทำตามขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ถูกต้องแล้ว พวกเรา Foxbith เชื่อว่าแนวคิดกับแนวทางต่อไปนี้จะเป็นส่วนเสริม ทำให้แอปพลิเคชันที่พัฒนาประสบผลสำเร็จ

  1. ให้ความสำคัญกับ User Experience (UX) เป็นอันดับแรก เพราะแม้ว่าแอปพลิเคชันจะมีคุณสมบัติที่ทำงานดีขนาดไหน แต่ถ้าใช้งานยากหรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ก็ถือว่าการออกแบบนั้นล้มเหลว
  2. เลือกใช้เทคโนโลยีกับเครื่องมือให้เหมาะสมกับแอปพลิเคชันที่ต้องการสร้าง การเลือกใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย อาจทำให้ไม่สามารถรันบนระบบปฏิบัติการที่รออัปเดตในระยะยาวได้
  3. ใส่ใจเรื่องความปลอดภัย และการรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ด้วยการปฏิบัติตามมาตรฐานกับข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง เช่นการเข้ารหัสข้อมูล การควบคุมการเข้าถึง และปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพื่อสร้างความมั่นใจกับความไว้วางใจให้ได้
  4. ทดสอบทุกอย่างให้ละเอียดก่อนเผยแพร่แอป เพื่อให้ค้นเจอข้อบกพร่องต่าง ๆ และแก้ไขให้เรียบร้อย ก่อนที่จะส่งต่อให้กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ได้ทดลองใช้งานจริง
  5. ติดตาม Feedback จากผู้ใช้ให้สม่ำเสมอ ตั้งแต่การรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ กับคำติชม เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาแอปพลิเคชันให้ดีมากขึ้น
  6. วางแผนกลยุทธ์การตลาดสำหรับโปรโมท เพื่อให้แอปพลิเคชันที่พัฒนาเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสามารถแข่งกับแอปคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. พัฒนาแอปให้รองรับได้หลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะ Android, iOS หรือแม้แต่เดสก์ท็อป เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ได้กว้างขึ้น และไม่จำกัดเฉพาะผู้ใช้ในระบบปฏิบัติการใดระบบนึง การพัฒนาแอปพลิเคชันแบบครอสแพลตฟอร์มจึงช่วยลดต้นทุนกับเวลาที่พัฒนาลงได้มาก
  8. ศึกษาเทรนด์การพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เพื่อนำเทคโนโลยีทันสมัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันมาใช้ ในการสร้างแอปให้มีความน่าสนใจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ ได้อย่างถูกยุคถูกสมัย

เทรนด์การพัฒนาแอปพลิเคชัน ปี 2024

ภายในปี 2024 นี้ ได้มีเทคโนโลยีด้านการพัฒนาแอปพลิเคชันที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้รูปแบบกับวิธีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย โดยมีเทรนด์สำคัญที่มีผลต่ออุตสาหกรรมการพัฒนาแอปพลิเคชัน และน่าจับตามอง ต่อไปนี้

  1. AI จะมีส่วนช่วยพัฒนาแอปพลิเคชันเพิ่มมากขึ้น ทั้งการใช้ Generative AI (GenAI) กับ Machine Learning (ML) เพื่อมาช่วยลดเวลาทำงาน ตั้งแต่การออกแบบ เขียนโค้ด หรือทดสอบแอป แล้วยังสามารถทำให้แอปพลิเคชันฉลาดขึ้น ด้วยการโต้ตอบกับผู้ใช้อย่างเป็นธรรมชาติได้
  2. เทคโนโลยีเสมือนจริง AR/VR จะถูกนำมาใช้ในแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแอปด้านความบันเทิง เกม การอบรมศึกษา และการท่องเที่ยว เพื่อสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับผู้ใช้
  3. แนวคิดการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Low-code/No-code จะเป็นที่นิยมมากขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้ที่ไม่ถนัดด้านการเขียนโค้ด สามารถพัฒนาแอปได้ด้วยตนเอง ผ่านการใช้เครื่องมือและแพลตฟอร์มช่วยลดความซับซ้อนในการสร้าง
  4. การรักษาความปลอดภัยข้อมูลของผู้ใช้ และการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ จะยังคงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอยู่เสมอ เพราะไม่ว่าจะไปผ่านไปกี่ยุคสมัย ถ้ายังมีคนรอแก้ ก็ต้องมีคนคอยอุดช่องโหว่นั้นด้วยเสมอ

เทรนด์การพัฒนาแอปพลิเคชันเหล่านี้ อาจได้เป็นตัวกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมการพัฒนาแอพพลิเคชั่นในอนาคตไม่ไกล นักพัฒนาที่สามารถปรับตัวและนำเทรนด์ใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมได้ก่อน จะยิ่งได้เปรียบในการสร้างสรรค์แอปพลิเคชันที่โดดเด่น และอาจได้รับอิทธิพลความเป็นผู้นำเทคโนโลยีที่เหนือคู่แข่งอีกด้วย

บทสรุป

สรุปแล้ว การพัฒนาแอปพลิเคชัน (Application Development) คือกระบวนการสร้างแอปพลิเคชัน ที่ต้องอาศัยทั้งความรู้กับความชำนาญหลายด้าน ตั้งแต่การวางแผนกลยุทธ์ วิเคราะห์ความต้องการผู้ใช้ ออกแบบ UI/UX การเขียนโค้ดทดสอบแอป ตลอดจนเริ่มเผยแพร่แอปพลิเคชัน และให้บริการสนับสนุน เพื่อรับ feedback มาอัปเดตปรับปรุงแอปต่อไป

ไม่เพียงแต่มีความเข้าใจภาคทฤษฎีเท่านั้น แต่นักพัฒนาจะต้องสามารถนำความรู้เรื่องการพัฒนาแอพพลิเคชั่นมาประยุกต์ในการทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม การทำงานเป็นทีม การให้ความสำคัญเรื่องการทดสอบโดยละเอียด และการอัปเดตปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เป็นหน้าที่ของนักพัฒนา ที่จะต้องติดตามเทรนด์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการ ช่วยให้การพัฒนาแอพพลิเคชันมีประสิทธิภาพและทันสมัยมากขึ้น