Technology

รู้จักว่า 'Web Development' คืออะไร? [คู่มือปี 2024]

April 24, 2024

รู้จักว่า 'Web Development' คืออะไร? [คู่มือปี 2024]

ยุคดิจิทัลที่หลายทุกธุรกิจมุ่งสู่ออนไลน์ 'เว็บไซต์ (Website)' จึงเปรียบเสมือนการมีหน้าร้าน ที่สามารถดึงดูดผู้ซื้อและสร้างโอกาสทางธุรกิจได้จริง ส่งผลให้ทักษะการทำ Web Development เริ่มมีความสำคัญ และเป็นที่ต้องการของตลาดสูงมากขึ้นในทุก ๆ ปี

ข้อมูลสถิติจาก Statista พบว่าในปี 2023 มีเว็บไซต์ที่ใช้งานอยู่มากกว่า 1.9 พันล้านเว็บ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 2.5 พันล้านเว็บไซต์ ภายในปี 2026

หมายความว่า Website development จะยังคงเป็นทักษะที่มี potential สูงต่อไปอีกเรื่อย ๆ ครับ และสำหรับบทความนี้ พวกเรา Foxbith ได้เขียนเพื่อมุ่งหวังให้ผู้อ่านเข้าใจว่า Web development นั้นคืออะไร ภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้ ขั้นตอนพัฒนา รวมทั้งการแนะนำคอร์สเรียนที่สอนหลักสูตร Website development พร้อมใบเซอร์ (Certificate) อีกด้วย

Web Development คืออะไร

Web development คือกระบวนการสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ ด้วยภาษาโปรแกรมกับเครื่องมือสำหรับสร้างเว็บ ตั้งแต่ขั้นตอนวางโครงสร้าง ออกแบบ User Interface (UI) การเขียนโค้ดพัฒนาส่วนต่าง ๆ และดูแลระบบหลังจากที่เผยแพร่เว็บไซต์ให้ใช้งาน

นอกเหนือกระบวนการหลักในการพัฒนาเว็บไซต์ ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่มาช่วยทำ web development ให้มีประสิทธิภาพและเร็วขึ้นกว่าเดิมมาก

ตัวอย่างเช่น การนํา AI มาช่วยสร้าง UI/UX ให้เหมาะกับแต่ละกลุ่มผู้ใช้ การใช้ Chatbot แทน Call Center เพื่อตอบคําถามลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือการเลือกใช้เทคโนโลยี AR/VR เพื่อสร้างประสบการณ์ใช้งานเว็บให้น่าสนใจ

ประเภทของ Web Development

“Web development มีประเภทอะไรบ้าง” คำถามนี้ขึ้นอยู่กับว่าใช้เกณฑ์ไหนในการจำแนกครับ แต่ปกติแล้ว Web development จะนิยมแบ่งตามส่วนที่ทำงานของเว็บไซต์ ต่อไปนี้

  • Front-End Development หรือ การพัฒนาฝั่งหน้าบ้าน ที่เน้นการออกแบบและสร้างส่วน User Interface (UI) ที่ผู้ใช้เห็นและโต้ตอบกับเว็บไซต์เองได้ เช่น หน้าเว็บ เมนู รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ภาษาที่ใช้เขียนประจำคือ HTML, CSS กับ JavaScript
  • Back-End Development หรือ การพัฒนาฝั่งหลังบ้าน ที่เน้นการสร้างระบบควบคุมการทำงานต่าง ๆ จัดการฐานข้อมูล และระบบความปลอดภัยของเว็บไซต์ โดยผู้ใช้จะไม่สามารถโต้ตอบกับส่วนนี้ได้ ด้วยการเขียนภาษาโปรแกรมอย่าง PHP, Python, Java, Ruby ฯลฯ
  • Full-Stack Development คือการพัฒนาเว็บไซต์ทั้งในส่วนหน้าบ้าน (Front-End) กับหลังบ้าน (Back-End) และเชื่อมการทำงานของทั้งสองส่วนได้ราบรื่น

5 ภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้ทำ Web Development

ปัจจุบันมีภาษาโปรแกรมที่นักพัฒนาเลือกใช้ในการทำ Web development หลายภาษา ที่ต่างก็มีคุณสมบัติทั้งเด่นและด้อยแตกต่างกัน การจะเลือกใช้ภาษาใดนั้น อาจต้องขึ้นอยู่กับประเภทเว็บไซต์ ความเหมาะสม และความถนัดของ dev ด้วยนั้นเอง

พวกเรา Foxbith ได้คัดมา 5 ภาษาโปรแกรม ที่ได้รับความนิยมสำหรับนำไปใช้ทำ Web development ในปี 2024 ต่อไปนี้

  1. JavaScript

‘JavaScript’ ครองที่หนึ่งสำหรับการทำ Web development เพราะเป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้สร้างการทำงานแบบไดนามิกบนเว็บไซต์หรือเว็บแอปพลิเคชัน ถูกใช้ทำงานร่วมกันกับ HTML และ CSS ในการสร้างคุณสมบัติส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (UI) อย่าง dropdown, modal หรือ popup ทั้งยังสามารถนำมาใช้สร้าง animation และ transition เพื่อเพิ่มลูกเล่นพิเศษให้กับเว็บไซต์ได้

  1. Python

‘Python’ ภาษาโปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูง ในการทำ Web development เพราะมีโครงสร้างภาษาที่อ่านและเขียนได้ไม่ยาก ช่วยลดเวลาในการ Coding ให้ไวขึ้น ทั้งยังรองรับ OOP (Object Oriented Programming) ซึ่งเป็น paradigm ที่เหมาะสมกับการทำ Website development ทำให้ช่วยจัดการ state ได้ง่ายขึ้น

  1. Java

‘Java’ เป็นหนึ่งภาษาโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการทำ Web development เพราะสามารถทํางานข้ามแพลตฟอร์มได้ดี เพียงออกแบบมาให้เขียนโปรแกรมเพียงครั้งเดียว ก็สามารถรันได้บนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ โดยที่ไม่ต้องแก้ไขโค้ด และยังมีไลบรารี่กับเครื่องมือมากมาย ที่สนับสนุนการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันได้เป็นอย่างดี เช่น Java Servlets, JSP หรือ JSF

  1. PHP

‘PHP’ ภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้กับการทำ Web development ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้าน server-side โดยเฉพาะ ผู้พัฒนาสามารถเขียนโค้ด PHP แทรกไว้ในโค้ด HTML เพื่อสร้างเนื้อหาแบบ dynamic ได้ ทําให้เว็บไซต์มีความสามารถในการแสดงผลแบบ real-time ได้ ถือเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง และยังทํางานได้ดีกับฐานข้อมูลหลายชนิด อย่าง MySQL, Oracle, PostgreSQL และ SQL Server

  1. TypeScript

'TypeScript' ภาษาที่ออกแบบมาเพื่อช่วยในกระบวนการ Web development ด้วย JavaScript ง่ายขึ้น ด้วยการเพิ่มระบบชนิดข้อมูลแบบ Static Typing เข้าไป ทําให้สามารถตรวจจับข้อผิดพลาดได้ในตอนเขียนโค้ดและช่วยให้เขียนได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ ยังรองรับการเขียนโค้ดแบบ Object Oriented Programming ช่วยให้จัดระเบียบโค้ดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังรองรับ ES6, ES7 ล่าสุดได้ทันที ทําให้ใช้คุณสมบัติใหม่ ๆ ได้ก่อน JavaScript

กระบวนการ Web Development 6 ขั้นตอน

เว็บไซต์ (Website) หรือเว็บแอปพลิเคชัน สามารถพัฒนาด้วยกระบวนการ Web development ทั้งหมด 6 ขั้นตอน ต่อไปนี้

1. กำหนดความต้องการที่ชัดเจน (Discovery) 

การกำหนดความต้องการที่ชัดเจน เป็นสิ่งสำคัญก่อนเริ่มการทำ Web development เพื่อให้เข้าใจว่าต้องการสื่อสารอะไรกับผู้ใช้ อย่างเช่น เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ที่ใช้เพื่อสนับสนุนการขายสินค้า หรือเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร โดยการกำหนดเป้าหมายก่อนเริ่มทำ จะช่วยให้เห็นทิศทางการพัฒนาเว็บไซต์ที่ชัดเจนก่อนลงมือทำจริง

2. กำหนดเนื้อหาและจัดโครงสร้างเว็บไซต์ (Information Architecture)

ขั้นตอนการทำ Web Development นี้ เป็นการกำหนดว่าเว็บไซต์จะมีเนื้อหาอะไรบ้าง และควรจัดเรียงอย่างไรเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้สะดวก โดยการใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วจากขั้นตอนแรก มากำหนดขอบเขตเนื้อหาที่ต้องมีในเว็บ และแปลงขอบเขตเนื้อหาที่รวบรวมได้เป็นโครงสร้างของเว็บไซต์ที่ทำได้จริง

3. การออกแบบเว็บไซต์ (Website & UI Design)

การทำ Web development ในส่วนที่ต้องออกแบบ User Interface นั้น นักพัฒนาควรจะอาศัยผู้ที่ชำนาญการออกแบบกราฟิก และมีศิลปะในการเลือกใช้สี รูปภาพ และการจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้เว็บไซต์ดูน่าใช้งาน แต่การออกแบบเว็บไซต์ที่ดีนั้นจะต้องใส่ใจถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ใช้ตอบสนองการใช้งานได้อย่างเหมาะสม

4. การพัฒนาเว็บไซต์ (Website Development & Testing)

Web development ในขั้นตอนนี้ คือการนำข้อมูลจากขั้นตอนก่อนหน้ามาประกอบกันเพื่อสร้างเว็บไซต์ โดยใช้เครื่องมือช่วยพัฒนาเว็บ อย่างเครื่องมือสร้างและจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ (CMS) หรือ Framework ที่ช่วยให้การทำ Website development สะดวกมากขึ้นและในระหว่างเขียนโค้ดพัฒนาเว็บไซต์ นักพัฒนาจำเป็นต้องทดสอบเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา การเรียกใช้งานโปรแกรม และการแสดงผลบนอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ทำงานได้อย่างครบถ้วน และตรงกับความต้องการผู้ใช้

5. การเผยแพร่เว็บไซต์สู่สาธารณะ (Deployment)

กระบวนการสำคัญในการนำเสนอเว็บไซต์ ที่พัฒนาแล้วเสร็จให้กับผู้ใช้งานทั่วไปบนโลกออนไลน์ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ รวมทั้งการโปรโมทเพิ่มคนรู้จักเว็บไซต์ ด้วยกลยุทธ์การตลาดต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้หลังจากที่เว็บถูกเผยแพร่แล้ว นักพัฒนายังจำเป็นต้องทดสอบการใช้งานอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อหา bug ที่อาจเกิดขึ้นได้ ในขั้นตอน Web development นี้ จะยิ่งช่วยให้พบข้อผิดพลาดและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

6. การดูแลบำรุงรักษาเว็บไซต์ (Maintenance)

การบำรุงรักษาเป็นขั้นตอนนึงของกระบวนการ Web development ที่สำคัญ เพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เมื่อพบข้อผิดพลาด ก็ควรจะแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้นเสมอ ด้วยการอัปเดตเนื้อหาภายในเว็บให้เป็นปัจจุบัน ปรับปรุงให้ทันสมัย และวิเคราะห์พฤติกรรมใช้งานของผู้ใช้ด้วยเครื่องมือทางการตลาด จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ

Website Development สำคัญยังไง

ปี 2024 นี้เป็นยุคที่ผู้บริโภคเกือบทุกคน นั้นเลือกใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์หลายชั่วโมงต่อวัน ไม่ว่าจะเสพความบันเทิง ข่าวสาร หาความรู้ หรือแม้แต่การทำธุรกรรมต่าง ๆ ทำให้การมีเว็บไซต์สำหรับทำธุรกิจจึงเวิร์กมากในตอนนี้แต่การสร้างเว็บไซต์ที่ดี จะต้องอาศัย ทั้งกระบวนการ ‘Website development’ ที่เป็นรากฐานสำคัญในการทำเว็บไซต์ หรือเว็บแอปพลิเคชันให้เกิดขึ้นได้ เปรียบเสมือนการสร้างบ้าน ที่จะต้องวางแผนและควบคุมตลอดการก่อสร้างอย่างเป็นขั้นเป็นตอน หากขาดหรือข้ามขั้นตอนใดไป ก็ย่อมส่งผลไม่ดีต่อทั้งคุณภาพ การใช้งาน และความสวยงามโดยรวมเหตุผลหลักที่ทำให้กระบวนการ Web development ยังสำคัญมาก

  1. ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ที่ต้องไม่พบปัญหาทางเทคนิค ข้อผิดพลาด หรือ Error 404 อยู่บ่อยครั้ง เพราะจะส่งผลกระทบกับประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้โดยตรง แล้วถ้ายิ่งสร้างความประทับใจไม่ได้ ภาพจำของลูกค้าเกี่ยวกับธุรกิจเรา ก็จะเอนไปในทางที่ไม่ดีอีกด้วย แต่ถ้าเว็บไซต์ผ่านกระบวนการ Web development มาครบทุกขั้นตอน เรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหาที่ต้องห่วงเลย
  2. ต้องรองรับการทำ SEO (Search Engine Optimization) หรือการปรับแต่งเว็บไซต์ (On-page) ให้เหมาะสมกับการทำอันดับบนเครื่องมือค้นหาอย่าง Google หรือ Bing เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เจอหน้าเว็บธุรกิจในเรื่องที่ต้องการนำเสนอ
  3. มีระบบหลังบ้านที่ดี ไม่ว่าจะการเก็บข้อมูลส่วนตัว ประวัติการใช้งาน หรือพฤติกรรมการซื้อของผู้ใช้ ในการทำเว็บไซต์หากมีระบบหลังบ้านที่แย่ ย่อมมีผลเสียตั้งแต่เรื่องประสิทธิภาพ ประสบการณ์ใช้งาน หรืออาจไม่รองรับการทำ SEO ไปเลย รวมถึงความไม่ปลอดภัยที่เสี่ยงถูกแฮก หรือขโมยข้อมูลสำคัญในเว็บไซต์ออกไปได้ ข้อนี้จะเห็นได้ชัดเลยว่า ‘ขั้นตอนการทำ Website development’ สำคัญแค่ไหน
  4. เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน หรือการออกแบบให้เว็บไซต์ให้มี UX (User Interface) ที่ใช้งานง่าย และไม่ซับซ้อนจนสร้างรำคาญ จะอ่านรายละเอียดสินค้าหรือกดสั่งซื้อก็ทำได้รวดเร็วทันใจ สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจ และมักทำให้เกิด conversion ได้อยู่เสมอ

แนะนำ 5 คอร์สเรียน Web Development มีใบ Certificate

การศึกษากระบวนการ Web development ในปัจจุบัน นั้นมีช่องทางให้เลือกเรียนทางออนไลน์มากมาย ทั้งแบบฟรีและจ่ายเงินเรียน สำหรับผู้เริ่มศึกษา ในหัวข้อนี้พวกเรา Foxbith ได้คัดแหล่งเรียน Website development ที่น่าสนใจมาด้วยกัน 5 คอร์ส ต่อไปนี้ครับ

1. Udemy / The Complete 2024 Web Development Bootcamp

ผู้สอน :

Dr. Angela Yu

ระยะเวลา :

62 ชั่วโมง แบ่งเป็น 545 บทเรียน ที่มีวิดีโออธิบายและโค้ดตัวอย่าง

ระดับ :

เหมาะสำหรับทุกคน ตั้งแต่ผู้เริ่มต้นที่ไม่เคยเขียนโปรแกรม หรือผู้ที่มีพื้นฐานอยู่แล้ว

ราคา :

$199.99

'The Complete 2024 Web Development Bootcamp' คอร์สเรียนที่จะสอนการเป็น Full-Stack Web Developer ด้วยเนื้อหาที่มากกว่า 62 ชั่วโมง และจะได้เรียนรู้เครื่องมือกับเทคโนโลยีล่าสุด ที่บริษัทชั้นนำอย่าง Apple, Google และ Netflix เลือกใช้ อีกทั้งยังได้เห็นวิดีโอการทำโปรเจกต์ Website development ของจริงมากกว่า 16 โปรเจกต์

เหมาะกับผู้ที่ต้องการศึกษากระบวนการ Web development อย่างลงลึก ตั้งแต่พื้นฐานจนไปสู่การเป็น Web Developer ที่มีศักยภาพพร้อมทำงาน ที่ www.udemy.com

2. Coursera / University of California / ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Web Development

ผู้สอน :

Daniel Randall จาก University of California, Davis

ระยะเวลา :

ประมาณ 21 ชั่วโมง แบ่งเป็น 3 สัปดาห์

ระดับ :

Beginner level ที่ไม่มีประสบการณ์ หรือความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม

ราคา :

เรียนฟรี หรือเลือกสมัคร Coursera Plus เพื่อรับใบรับรองได้

Web development คอร์สเรียนนี้ จะเริ่มสอนจากพื้นฐานการสร้างเว็บไซต์หรือเว็บแอปพลิเคชัน ด้วยภาษาหลักอย่าง HTML, CSS และ JavaScript เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างกับการทำงานของเว็บไซต์ ใช้เวลาประมาณ 21 ชั่วโมง หรือ 3 สัปดาห์ ในการเรียนรู้ทั้งหมด อีกทั้งยังได้เวิร์คช็อปทำเว็บไซต์ส่วนตัวหรือธุรกิจตนเอง และเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ที่ www.coursera.org

3. Coursera / Johns Hopkins University / HTML, CSS และ JavaScript สำหรับนักพัฒนาเว็บ

ผู้สอน :

Yaakov Chaikin อาจารย์ประจำที่ Johns Hopkins University

ระยะเวลา :

ประมาณ 40 ชั่วโมง แบ่งเป็น 3 สัปดาห์

ระดับ :

ความยากเบื้องต้น เหมาะกับผู้ศึกษาที่ต้องการฝึกใช้เครื่องมือพื้นฐาน 

ราคา :

เรียนฟรี หรือจ่ายเงิน $49 เพื่อขอใบรับรอง

คอร์สเรียน Web development นี้จะเน้นสอนการใช้ภาษา HTML, CSS และ JavaScript และหลักการพื้นฐานของการพัฒนาเว็บไซต์ อย่างการใช้ Bootstrap framework เพื่อออกแบบหน้าเว็บ, การใช้งาน jQuery Library เพื่อเพิ่มการโต้ตอบกับผู้ใช้, การใช้ AJAX สำหรับสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์ และการเลือกใช้ Node.js เพื่อสร้างเว็บเซิร์ฟเวอร์ ที่ www.coursera.org

4. Codecademy /  Web Development

ผู้สอน :

ไม่มีผู้สอนแบบสด แต่มีเนื้อหาวิดีโออธิบายขั้นตอนการ Coding และมีระบบแนะนำตรวจสอบโค้ดด้วย AI 

ระยะเวลา :

30-150 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับเส้นทางการเรียน (Career path) หรือเส้นทางฝึกฝนทักษะ (Skill path) ที่คุณเลือก

ระดับ :

มีทั้งระดับมือใหม่ (Beginner) หรือระดับกลาง (Intermediate) ให้เลือก

ราคา :

เรียนฟรีเนื้อหาคอร์สบางส่วน หากต้องการเข้าเรียนได้ทุกเนื้อหา จะต้องสมัครสมาชิกแบบ Pro ที่ราคา $19.99 ต่อเดือน

คอร์สเรียน Web development ในเว็บไซต์ Codecademy จะสอนเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์และเว็บแอปพลิเคชัน ตั้งแต่พื้นฐานภาษาเขียนอย่าง HTML, CSS, JavaScript และเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง React Node, Web3 ฯลฯ อีกทั้งยังได้รู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพ Web developer พร้อมลงมือสร้างผลงานจริงด้วยตัวเองกว่า 16 โปรเจกต์ เพื่อนำไปใช้ประกอบ CV หรือ Resume ในการสมัครงาน ที่ www.codecademy.com

5. freeCodeCamp / Coding, Web Development

ผู้สอน :

ไม่มีผู้สอนแบบสด แต่มีเนื้อหากับแบบฝึกหัดที่จัดทำโดย Quincy Larson และทีมงานของ freeCodeCamp.org

ระยะเวลา :

เวลาเรียนไม่กำหนดชัดเจน สามารถเลือกเรียนเองได้ตามสะดวก

ระดับ :

เหมาะกับผู้เรียนทุกระดับ ตั้งแต่ผู้เริ่มต้นเรียนจนถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ

ราคา :

เรียนฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ แถมมีใบรับรอง (Certification) ให้กับผู้เรียนที่ผ่านทุกโปรเจกต์ทดสอบ

‘freeCodeCamp’ แพลตฟอร์มที่มีหลักสูตรเรียน Coding กับการทำ Web development ได้ฟรีกว่า 3,000 ชั่วโมง หากจะศึกษาและผ่านทุกโปรเจกต์ตามที่กำหนด

ผู้เรียนจะได้ความรู้กับทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็น Full stack developer ได้ ตั้งแต่พื้นฐานการเขียนโค้ด จนถึงการใช้เฟรมเวิร์กและเครื่องมือที่ทันสมัยมากมาย ทั้งยังสามารถเลือกศึกษาได้เอง ซึ่งถ้าต้องการความช่วยเหลือ ก็สามารถสอบถามได้ในฟอรั่มของ freeCodeCam ที่ www.freecodecamp.org

บทสรุป

สรุปแล้ว Web development คือกระบวนการสร้างเว็บไซต์ ที่มีแบบแผนเป็นขั้นตอนชัดเจน ที่เริ่มด้วยการสำรวจและวิเคราะห์ requirement อย่างละเอียด แล้วนำมาจัดโครงสร้างที่ต้องมีในเว็บ เพื่อไปสู่ขั้นตอนการเขียนโค้ด ทดสอบ และเผยแพร่ให้ใช้งานจริงกันต่อไป

ถือเป็นงานที่ท้าทายไม่น้อย เพราะนักพัฒนาเว็บไซต์ หรือ Web dev ในปี 2024 นั้นจะต้องติดตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในขั้นตอนการทำ Website development ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด

ลองปรึกษาเรื่อง Web development กับพวกเรา Foxbith ไหม

อ่านมาถึงตรงนี้ หากใครที่ยังสงสัยหรืออยากได้คำปรึกษาจากนักพัฒนาตัวจริง ที่มีประสบการณ์ทำเว็บไซต์ และเว็บแอปพลิเคชัน

สามารถติดต่อพวกเรา Foxbith ทีมนักพัฒนา ที่พร้อมให้บริการรับจ้างทำเว็บไซต์ เขียนโปรแกรม และรับทำแอปพลิเคชัน เพื่อทุกธุรกิจหรือองค์กรได้อย่างตอบโจทย์